แม้ในอดีตที่ผ่านมา ชาวอิสลามทั่วโลกต่างนึกถึงการถูกทำลายของมัสยิด ที่ประเทศบอสเนีย โดยกองทัพเซอร์เบีย, มอนเตเนโกร, และโครเอเชีย ที่เข้ามารุกรานบอสเนีย ทำให้ชาวบอสเนียได้ตระหนักถึงโศกนาฏกรรมที่ต้องประสบ ทำให้สมาคมอิสลามบอสเนียได้ประกาศให้วันที่ 7 พฤษภาคมของทุกปีเป็น 'วันมัสยิด' เพื่อรำลึกถึงวันนี้เมื่อ สิบกว่าปีก่อนที่มัสยิดฟาร์ฮัดดีจา ในเมืองบันจาลูกาถูกทำลายโดยกองทัพเซอร์เบียผู้รุกรานที่มีเป้าหมายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวบอสเนีย
'วันมัสยิด' เป็นวันที่ชาวบอสเนียรำลึกถึงมัสยิดฟาร์ฮัดดีจาและมัสยิดอีก 1,000 แห่งทั่วประเทศที่ถูกชาวเซิร์บ ทำลาย และเพื่อปลุกจิตสำนึกชาวบอสเนียให้นึกถึงมัสยิดที่ถูกทำลายไป และโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นที่นี่ทุกๆ ปี ซึ่งวันนี้ยังเตือนให้ชาวโลก โดยเฉพาะชาวบอสเนีย, ได้รู้ว่ามัสยิดและศาสนสถานของอิสลามที่ถูกสร้างขึ้นในช่วง 500 ปีที่ผ่านมาได้ถูกทำลายลงโดยกองทัพผู้รุกรานชาวเซอร์เบีย, มอนเตเนโกร, โครเอเชีย ที่บุกเข้ามาทำลายแทบไม่เหลือแม้แต่ซากภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน และที่น่าเศร้าที่สุดคือ ชาวบอสเนียจำนวนมากเสียชีวิตไปโดยไม่มีโอกาสได้เห็นมัสยิดของพวกเขาถูกบูรณะขึ้นใหม่
ลักษณะภูมิประเทศ
บอสเนีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐโครเอเชีย สาธารณรัฐเซอร์เบีย และสาธารณรัฐมอนเตเนโกร โดยมีพื้นที่ ๕๑,๑๒๙ ตารางกิโลเมตร ประเทศบอสเนีย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบภูเขาและหุบเขา
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นประเทศบอลข่านตะวันตกที่มีภูเขาเป็นจำนวนมาก มีชายแดนติดกับทะเลอะเดรียติกและประเทศโครเอเชีย มีเมืองหลวงชื่อ ซาราเยโว ซึ่งแต่เดิม บอสเนีย เป็นสาธารณรัฐ 1 ใน 6 แห่งของยูโกสลาเวีย ต่อมาได้รับเอกราชในสมัยสงครามยูโกสลาเวีย เนื่องจากข้อตกลงเดย์ตันจึงเป็นรัฐในอารักขาของชุมชนนานาชาติ ซึ่งถูกปกครองโดยตัวแทนระดับสูงที่ถูกเลือกโดยคณะรัฐมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ
การแบ่งเขตการปกครอง
ระบบการปกครองของประเทศบอสเนียคือปกครองแบบ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐ นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขรัฐบาล มีระบบพรรคการเมืองมีหลายพรรค แบ่งเขตปกครอง 2 เขตและ1 สาธารณรัฐ ซึ่งการแบ่งเขตการปกครองของประเทศบอสเนีย แบ่งเขตการบริหารหลักออกเป็น สหพันธรัฐบอสเนีย เป็น 10 รัฐ คือ รัฐอูนา-ซานา ,รัฐพอซาวีนา ,รัฐบอสเนียนพอดรินเย ,รัฐเซนีตซา-ดอบอย,รัฐเซนทรัลบอสเนีย ,รัฐเวสต์บอสเนีย, รัฐทุซลา ,รัฐซาราเยโว ,รัฐเฮอร์เซโกวีนา-เนเรตวา ,รัฐเวสต์เฮอร์เซโกวีนา
สาธารณรัฐเซิร์ปสกา แบ่งออกเป็น 7 เขต คือ เขตบันยาลูคา ,เขตบีเยลยีนา, เขตฟอตชา,เขตดอบอย,เขตวลาเซนีตซา ,เขตเทรบินเย,เขตซาราเยโว-รอมานียา ซึ่งเขตเบิตช์โค เป็นหน่วยบริหารที่ปกครองตนเองภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศบอสเนีย
ประชากรและวัฒนธรรม
บอสเนีย มีประชากรกว่า 3.9 ล้านคน ส่วนใหญ่จะมีเชื้อชาติ บอสเนีย,โครอัท และเซิร์บ มีเมืองหลวง คือกรุงซาราเยโว ภาษาราชการ ที่ใช้คือ ภาษาบอสเนียน ( เซอร์โบ-โครอัท ) เซอร์เบียน โครเอเชี่ยน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนา อิสลาม ,ศาสนาคริสต์ นิกายออธอดอกซ์ ,คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ,นิกายโปรเตสแตนท์
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ยังมีหลักฐานทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นว่าครั้งหนึ่งเคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจักรวรรดิที่สำคัญ คือ จักรวรรดิออตโตมันที่ครอบครองพื้นที่แถบนี้เป็นเวลายานนานถึง 500 ปี และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ที่ยึดครองดินแดนแถบนี้ในระยะสั้นๆ โดยมีสะพานเก่าแก่ ที่บ่งบอกถึงอารยธรรมสมัยก่อนคือ Stari Most สตารี่โมส ในเมืองโมสตาร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยจักรวรรดิออตโตมัน
ในบอสเนีย ผู้หญิงมีสิทธิทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน ซึ่งในหลายครอบครัวที่ผู้หญิงอาจต้องรับผิดชอบมากกว่าการทำงานบ้านและดูแลเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบชนบท ซึ่งชาวบอสเนียที่อาศัยอยู่ในแถบชุมชนเล็กๆ นั้น ได้อาศัยอยู่ร่วมกันหลายๆครอบครัว ส่วนบ้านที่อาศัยอยู่มักจะทำมาจากอิฐ หิน หรือไม้ ในอดีตวัฒนธรรมของบอสเนียนั้นถือว่า ในครอบครัว ผู้สูงอายุมีความสำคัญอย่างมาก ส่วนผู้หญิง มักจะทำงานนอกบ้านหรือในเมืองใหญ่
สภาพภูมิอากาศของบอสเนีย
ภูมิอากาศของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มีสภาพภูมิอากาศร้อนและมีช่วงเวลายาวในฤดูร้อน แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวอากาศจะหนาวจัด ในส่วนของบริเวณชายฝั่งทะเลจะมีอากาศที่อบอุ่นและมีฝนตกในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยเดือนมกราคมประมาณ 0-5 องศา และเดือนกรกฎาคมประมาณ 21-25 องศา
โซนเวลาของบอสเนีย
การปรับเวลาไปตามฤดูกาลนั้น ประเทศบอสเนียใช้เวลามาตรฐาน +1 ชั่วโมง ซึ่งเวลาที่ใช้ปรับตามฤดูกาลคือ +1 ชั่วโมง แต่จะชดเชยเวลาตามเขตแบ่งเวลาปัจจุบัน+2 ชั่วโมง ซึ่งการปรับเวลาไปตามฤดูกาลนั้น ประเทศบอสเนียจะเริ่มปรับเวลาขึ้นในวันอาทิตย์สิ้นเดือน ของเดือนมีนาคม ในช่วงเวลา 02:00 น. ซึ่งเป็นเวลามาตรฐานท้องถิ่นและนาฬิกาจะถูกปรับเลื่อนไปข้างหน้า 1ชั่วโมงสำหรับเวลา 03:00 น. จากนั้นกำหนดการในการปรับ จะสิ้นสุดลงตามฤดูกาล
ในวันอาทิตย์สิ้นเดือนของเดือนตุลาคม ช่วงเวลา 03:00น. เป็นวันที่สิ้นสุดการปรับเวลาลงซึ่งตรงกับเวลากลางวันท้องถิ่น นาฬิกาจะถูกปรับไปข้างหลัง 1 ชั่วโมงสำหรับเวลา 02:00 น. หากเทียบระยะเวลาที่แตกต่างจากประเทศไทย บอสเนียจะใช้เวลาในการเดินช้ากว่าเวลาในประเทศไทย 5 ชั่วโมง
ค่าเงินที่ใช้ในบอสเนีย
การแลกเปลี่ยนอัตราเงินของประเทศ บอสเนีย ซึ่งใช้สกุลเงินคือ marka (KM) โดยอัตราแลกเปลี่ยน 1 KM เท่ากับ 1.96 ยูโร หรือประมาณ 93 บาท ซึ่งอัตราการแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน ควรเช็คอีกกครั้ง
ระบบไฟฟ้าในประเทศบอสเนีย
ระบบการใช้กระแสไฟฟ้า ของประเทศ ลัตเวียคือ 230 โวลต์ 50 Hz ส่วนใหญ่ใช้เป็น 2 ขากลมแบบยุโรที่เป็นมาตรฐาน บางแห่งเป็นเบ้าลึกลงไป ส่วนใครที่ใช้กล้องถ่ายรูปแบบ และ โทรศัพท์มือถือ ที่ต้องเสียบปลั๊กควรตรวจสอบว่าที่ชาร์จไฟมีขาแบบใด หรืออาจเตรียมแอดปเตอร์สำหรับปลั๊กไฟไปด้วย
การใช้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตสำหรับนักท่องเที่ยว
การใช้โทรศัพท์ในบอสเนีย ซึ่งในเมืองบางแห่งระบบโทรคมนาคมได้รับความเสียหายอย่างมากและอยู่ระหว่างการปรับปรุง ทำให้ค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์จึงสูงมากตามไปด้วย โดยเฉพาะในเมืองศูนย์กลางธุรกิจ เช่น Sarajevo, Tuzla, Bihac, Mostar, Zenicaและ Banja Luka หากต้องการโทรติดต่อ ด้วยการหยอดเหรียญหรือบัตรโทรศัพท์ จากตู้สาธารณะ สามารถกดหัสประเทศแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หมายเลข 387 สำหรับ Federation และ หมายเลข 381 สำหรับ RepublikaSrpska(RS) แต่ในปัจจุบันมีโทรศัพท์เคลื่อนระบบ GSM เปิดดำเนินการแล้ว 2 ระบบ คือ ที่ดำเนินการโดย PTT BiH(Sarajevo) โดยมีการครอบคลุมพื้นที่ Bosniakส่วนใหญ่ และ ERONET
ส่วนใครที่อยากจะซื้อซิมการ์ด สามารถซื้อได้ในซูเปอร์มาร์เก็ต ,ที่ทำการไปรษณีย์และสถานีบริการน้ำมัน สำหรับ WiFi ส่วนใหญ่จะมีบริการฟรีตามเมืองใหญ่ที่เป็นแบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย แต่อาจจะมีเสียค่าบริการในร้านกาแฟและบาร์ ส่วนในโรงแรมนั้นอาจจะปล่อยไวไฟฟรีที่ล็อบบี้ ที่นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการได้
สินค้าและของฝากจาก บอสเนีย
ของที่ระลึกที่เป็นสินค้าสำหรับซื้อไปเป็นของฝากจากบอสเนีย ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพล มาจากออตโตมันหรือตุรกี ทำให้มีชาวพื้นเมืองเช่น ทำสินค้าแฮนด์เมดออกมาในรูปแบบต่างๆ ที่มีความหลาหลาย ไมว่าจะเป็นพรม, ชาชุด, หม้อปั้น, เซรามิก, หรือผ้าพันคอและอีกหลาย ๆ อย่าง ที่สามารถหาซื้อได้ตามแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละเมือง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าพื้นเมือง โดยฝีมือจากชาวบ้าน
อาหารที่ขึ้นชื่อของบอสเนีย
อาหารพื้นบ้านของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้รับอิทธิพลมาจากประเทศตุรกี และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแม้จะไม่มีความโดดเด่น แต่ก็สามารถทำให้นักท่องเที่ยวหลายคน ติดใจในรสชาติของอาหารดเป็นอย่างดี
Jagnjetina
Jagnjetina หรือ flame-grilled lamb or mutton แปลตรงๆก็คือ การนำเนื้อแกะไปย่างร้อนๆ ที่มาพร้อมสูตรเฉพาะ และน้ำจิ้มรสเด็ด
Bosanskilonac
Bosanskilonac หรือ meat stew cooked on an open fire คือสตูว์เนื้อสุก เพราะคนที่บอสเนีย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้การปรุงอาหารจะไม่ค่อยมีเนื้อหมู
Cevapcici
Cevapcici หรือ small sausages made from a lamb and beef mix เป็นไส้กรอกขนาดเล็กที่ทำมาจากเนื้อแกะผสมเนื้อวัว
Burek
Burek หรือ meat or cheese pie made with filo pastry เป็นขนมปังอบที่มีความกรอบ หอมกรุ่น ส่วนไส้ข้างในอัดแน่นไปด้วยเนื้อสับ หัวหอมและผักโขม ผสมกับชีส เนยหรือน้ำมันมะกอกนำไปอบจนเหลืองนวล เสิร์ฟพร้อมกาแฟหรือชาดำในยามเช้า ซึ่งBurek มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศตุรกี สามารถรับประทานได้ทั้งร้อนและเย็น
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศบอสเนีย
แม้บอสเนียได้มีอารยธรรม อาหาร ที่ได้มาจากหลายประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้บอสเนียมีเสน่ห์ ที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ต่างพากันสนใจและอยากที่จะค้นหา และมาสัมผัสกับสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบอสเนีย
บันยา ลูก้า
Banja Luka บันยา ลูก้า เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศอีก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในเรื่องความงดงาม โดยตั้งอยู่ทางทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โดยตัวเมืองนั้นตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวรีบาส
เมืองบันยา ลูก้า ถือว่าเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ค่อนข้างมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และนอกจากนี้แล้วเมืองบันยา ลูก้ายังเป็นเมืองที่มีชีวิตกลางคืนที่หลากหลาย เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบแสงสีในยามค่ำคืน
หอศิลป์สาธารณรัฐ ซริพสกา
หอศิลป์สาธารณรัฐ ซริพสกา Modern Art of RepublikaSrpska Museum ภายในมีการจัดแสดงเกี่ยวกับผลงานทางศิลปะสมัยใหม่เป็นจำนวนมาก เพราะเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของเมืองบันยา ลูก้า
โบสถ์แห่งคริสต์ซาวิอูร
Christ the Saviour Churchโบสถ์แห่งคริสต์ซาวิอูร สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1924 ถึง 1929 แต่ถูกทำลายลงโดยรัฐบาลหุ่นเชิดของพวกนาซี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งคริสตจักรนิกายออร์โธด็อกที่ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ปัจจุบันได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งโบสถ์แห่งคริสต์ซาวิอูร เป็นหนึ่งในโบสถ์ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสวยงาม และมีราคาแพงที่สุดในภูมิภาค เนื่องจากใช้วัสดุอื่นๆที่มากมูลค่าเพื่อนำมาสร้างโบสถ์แห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นอิฐที่ใช้ในการสร้างวิหาร ซึ่งเป็นอิฐสีแดงและสีเหลือง โดยนำเข้ามาจากตะวันออกกลาง รวมไปถึงปูนสีทองที่นำเข้ามาจากไซบีเรีย
ป้อมปราการคาสเทล
ป้อมปราการคาสเทล Kastel Fortress ป้อมนี้มีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 48,000 ตารางเมตร เป็นป้อมปราการที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวรีบาส ปัจจุบันป้อมปราการนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่เก่าแก่ที่สุดในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ประกอบไปด้วยกำแพงป้อมปราการและอาคารหักๆ 2 หลัง
Tunnel of Hope
อุโมงค์แห่งความหวังTunnel of Hope เป็นอุโมงค์ที่ขุดขึ้นมาในยุคสงครามกลางเมืองเพื่อลำเลียงอาหาร และทหาร Serb Forces อยู่ตามภูเขาล้อมรอบเมือง ระหว่างสงครามกลางเมือง จะมีนักแม่นปืนของเซิร์บประจำอยู่ ถ้าใครออกมาจากบ้านก็จะถูกยิง ทำให้ชาวเมืองแทบจะอดตาย ช่องแคบเล็กๆ คือที่ตั้งของสนามบิน ถ้าหากว่าเดินทางผ่านช่องแคบนี้ก็จะถูกเซิร์บยิงเช่นกัน ทำให้มีการขุดอุโมงค์นี้ขึ้นมาเพื่อลำเลียงน้ำ อาหาร และทหาร ก็เลยเรียกอุโมงค์นี้ว่า Tunnel of hope (อุโมงค์แห่งความหวัง) โดยอุโมงค์นี้มีความยาวประมาณ 800 เมตร ขุดผ่านใต้รันเวย์ของสนามบินซาราเยโว
เมือง Dubrovnik
เมือง Dubrovnik ได้มีการบูรณะแล้วโดยความช่วยเหลือจากยูเนสโก้ ที่ทำให้กลายเป็นเมืองมรดกโลก ตั้งแต่ช่วงสงครามเพื่อแยกตัวจากยูโกสลาเวีย เมืองนี้โดนถล่มหนักมากจากเซิร์บและกองทัพมอนเตเนโกร
Diocletian's Palace
Diocletian's Palace พระราชวังแห่งนี้สร้างในสมัยจักรพรรดิ์ Diocletian แห่งโรมัน 400 ปีก่อนคริสตกาล เพื่อเป็นบ้านพักตากอากาศ หลังจากที่โรมันล่มสลาย พระราชวังก็ถูกทิ้งร้างเป็นเวลาหลายศตวรรษ ทำให้ปัจจุบันได้กลายเป็นเมือง และยังคงเป็นพระราชวังที่มีความงดงาม แต่บริเวณโดยรอบได้มีร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ เพราะมีผู้คนที่หนีภัยสงครามเข้ามาอาศัย
เทศกาลสำคัญของบอสเนีย
เพราะมีวัฒนธรรมที่หลากหลายเชื้อชาติแล้ว ทำให้เทศกาลต่างๆ ของบอสเนีย มีความหลากหลาย แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละเทศกาลล้วนแล้วแต่มีความสำคัญมาก จุดขึ้นโดยชาวเมือง ชาวพื้นเมือง และบางเทศกาลก็มีนักท่องเที่ยวเข้าร่วมทำกิจกรรมนั้นๆ ด้วย
เทศกาลอีสเตอร์
การใช้ขี้ผึ้งวาดลวดลายลงบนเปลือกไข่ แล้วจึงระบายสี ก่อนที่จะนำไปอบเพื่อทำให้ขี้ผึ้งละลาย ซึ่งเป็นเทคนิคการทำลวดลาย โดยใช้ขี้ผึ้ง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเทคนิคที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้ในบอสเนียซึ่งไข่ที่ได้มาจะถูกนำไปใช้ในวันอีสเตอร์ โดยแม่ชีนิกายแองกลิกันของประเทศบอสเนีย จะช่วยกันตกแข่งไข่หลายร้อยใบ ด้วยการใช้ถุงน่อง เทียนขี้ผึ้ง และใบไม้เล็ก ๆ เพื่อเตรียมไว้แจกคนในชุมชนเนื่องในเทศกาลอีสเตอร์นี้
เทศกาลอีสเตอร์ ถือว่าเป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ ซึ่งวันอีสเตอร์เป็นวันเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซูหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามวัน โดยวันที่จัดงาน จะเปลี่ยนไปในแต่ละปี แต่บอสเนียจะกำหนดให้ ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์ วันที่ทรงถูกตรึงกางเขนตามพระคัมภีร์ หรือเรียกกันว่า วันอีสเตอร์
ชาวคริสต์รับเอาไข่มาเป็นส่วนหนึ่งในธรรมเนียมเทศกาลอีสเตอร์ในช่วงศตวรรษที่ 13 ไข่แดงในเปลือกเป็นสัญลักษณ์แทนการปรากฏตัวของพระคริสต์จากหลุมฝั่งพระศพ และย้อมเปลือกไข่เป็นสีแดงเพื่อแทนพระโลหิตที่พระคริสต์ต้องสูญเสียไปบนไม้กางเขน โดยในส่วนของไข่อีสเตอร์ คือสัญลักษณ์แห่งการเกิด ตามความเชื่อในตำนานมาเป็นพัน ๆ ปี
International Sarajevo Winter Festival
เทศกาลทางวัฒนธรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี สำหรับ International Sarajevo Winter Festival ที่จะมีตั้งแต่ช่วงฤดูหนาวปี ซาราเจโวฤดูหนาว ถือเป็นเทศกาลที่มีประเพณีการจัดขึ้น ภายใต้การอุปถัมภ์ของเลขาธิการสภายุโรป, สหภาพยุโรป, ยูเนสโกประธานของ B & H สภา B & H, ฯลฯ ตำบลเมืองซาราเยโว และ เทศบาลซาราเจโว ซึ่งงานจะถูกจัดในสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายนในซาราเจโว และเป็นการจัดงานที่ใหญ่ที่สุดของทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้
Sarajevo Film Festival
เทศกาลภาพยนตร์ซาราเยโว เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่ที่สุดในยุโรป ได้ โดยจะจัดขึ้นทุกปีในเดือนสิงหาคมและมีการโชว์ผลงานหลากหลายของบาร์และหนังสั้นจากทั่วโลก
การเดินทางจากประเทศไทยไปประเทศ บอสเนีย
ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาไม่มีเที่ยวบินตรง แต่นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเที่ยวบินจากกรุงเทพฯไปตามเมืองต่างๆอย่าง ซาราเจโว้ , ปันจา ลูก้า
สายการบินจากกรุงเทพไปบอสเนีย
สายการบินต่างๆ ได้แก่ Etihad Airways ,เอมิเรตส์ , ออสเตรียนแอร์ไลน์ ,กัลฟ์แอร์ , Air Berlin ,ลุฟต์ฮันซา , ตุรกีแอร์ไลน์, กาตาร์แอร์เวย์ ,แควนตัส ,การบินไทย ,คูเวตแอร์เวย์ , ฟินน์แอร์ , Kenya Airways , ยูเครนอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ ,นิปปอนแอร์เวย์
ผู้ถือหนังสือเดินทางจากประเทศไทย ที่จะเข้าประเทศบอสเนียฯ ต้องยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศ โดยติดต่อขอได้ ณ สถานเอกอัครราชทูตบอสเนีย ทุกแห่ง สายการบินที่บินตรงจากไทยไปบอสเนียไม่มี ถ้าใกล้สุด อาจใช้วิธีต่อเครื่อง ด้วยการไปลงที่กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียแล้วต้องต่อไฟทล์ไปอีก โดยมี สายการบินแอร์บอสเนีย หรือ มาเลเซี่ยนแอร์ไลน์ ส่วนสายการบินจากยุโรปหลายสายมีเที่ยวบินเข้าสู่เมืองซาราเจโว(เมืองหลวงของบอสเนียฯ) เช่น Adria Airways, Austrian Airlines, Croatian Airlines, Cross Air(SwissAir) และ Lufthansa
สิ่งที่ควรเตรียมก่อนการเดินทางไปประเทศบอสเนีย
การเลือกการเดินทางท่องเที่ยวที่ประเทศบอสเนียนั้น ควรเช็คสภาพอากาศก่อนเดินทาง เพราะช่วงที่อากาศหนาว จะต้องเตรียมเสื้อผ้า หมวก รองเท้า ถุงมือ ถุงเท้าให้พร้อม หรือหากไปหน้าร้อนก็ควรเลือกเสื้อผ้าที่ซักแห้งง่ายไม่ยับแบบไม่ต้องรีด รองเท้าที่ใส่สบายไม่บีบเท้าเผื่อการเดินทางที่ยาวนานจะได้ไม่เจ็บ ที่สำคัญอย่าลืมยาแก้แพ้ แก้หวัด ยาแก้ไข้ ฯลฯ และหากเป็นโรคประจำตัวก็ควรนำติดตัวไปด้วย
มัสยิดหลายๆ แห่งได้ถูกก่อสร้างขึ้นมาใหม่ให้เหมือนเดิมหรือไม่ก็แบบใหม่ แต่ก็ยังมีมัสยิดอีกหลายแห่งที่ยังต้องรอการบูรณะอีกมากมาย ซึ่งปัญหาใหญ่ของการบูรณะมัสยิดขึ้นใหม่คือขาดเงินทุน และจากสาเหตุอื่นๆ แม้ในปัจจุบัน บอสเนียจะได้รับอิสรภาพและความเป็นไทแล้ว แต่ความบอบช้ำจากในอดีตที่แสนเจ็บปวด ก็ทำให้พวกเขาไม่มีวันลืม แต่สิ่งที่ทำได้ก็คือการรำลึกถึง 'วันมัสยิด' ที่ทำให้ชาวบอสเนียและมัสยิดของชาวอิสลามที่ต่างก็ตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน นึกถึงอดีตที่ผ่านมา และสิ่งที่ชาวบอสเนียหวังอย่างเป็นที่สุดก็คือ ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เดิมๆ ซ้ำขึ้นมาอีก ....